ได้กลับมาดู Back to the Future ภาพยนตร์เจาะเวลาหาอดีต (และอนาคต) อันสุดน่าทึ่งขึ้นหิ้งใน Netflix อีกครั้ง และยังเป็นการครบรอบ 35 ปี พอดิบพอดีหลังจากที่ภาคแรกออกฉายในปี 1985
ตัวผมเองเคยดูครั้งแรกน่าจะที่บิ๊กซีเนม่า ช่อง 7 นะ ตอนนั้นก็ยังเด็กประถมอยู่ (ถ้าจำไม่ผิด) และน่าจะนำเอามาฉายหลังภาพยนตร์ฉายไปแล้ว 4-5 ปีได้ล่ะมั้งครับ แต่นั่นแม้หลังจะเคยฉายไปหลายปีมาก่อนแล้ว และก็ไม่แน่ใจพลาดไม่เช่าวีดีโอเรื่องนี้มาดูได้ยังไง แต่การดูครั้งแรกก็ทำให้รู้สึกทึ่งกับภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นอย่างมาก
ไม่ว่าในแง่ของโปรดักชั่นที่ดูแล้ว ตื่นตาตื่นใจ บทภาพยนตร์ที่เข้าใจง่าย ซึ่งจะว่าไปหนังเรื่องนี้ จะจำแนกประเภทหนังได้หลายแบบเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นแนว ไซไฟแฟนตาซี, หนังรักวัยรุ่นวัยเรียน, หนังครอบครัว ก็ได้หมดทั้งนั้น เป็นหนึ่งในไม่กี่เรื่องหรอก ที่สามารถดูซ้ำแล้วซ้ำเล่าไม่มีเบื่อ แถมดูกันได้หลายเจนเนอเรชั่นเลยล่ะครับ ตั้งแต่เด็ก ยันโต ยันลูกยันหลานดูกัน ก็นับว่ายังเป็นหนังที่ดีในแง่บันเทิงและการศึกษาของโลกภาพยนตร์ได้เป็นอย่างดีเลยแหละ
พอเริ่มดูเมื่อไหร่ บรรยากาศแห่งความเยาว์วัย ย้อนกลับมาให้คิดถึงทุกที
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย จาก IMDB
-หลังหนังออกฉาย บ๊อบเกล (คนเขียนบท) และ ผู้กำกับ โรเบิร์ท เซเมคคิส ได้รับจดหมายจากแฟนหนัง “John DeLorean” เจ้าของโรงงาน DeLorean Motor Company (DMC) ผู้ผลิตรถเดอลอเรียนที่เห็นในหนังนั่นแหละ โดยคุณจอห์นขอบคุณที่หนังเรื่องนี้ทำให้รถยนต์รุ่น DMC DeLorean เป็นตำนานอีกครั้ง เนื่องจากโรงงานผลิตรถยนต์ได้ปิดตัวไปในปี 1982 รถรุ่นนี้ผลิตมาได้ประมาณ 9,000 คันและโรงงานถูกฟ้องล้มละลายในที่สุด (ส่วนหนังออกฉาย 3 ปีให้หลัง)
-และ ชุดแต่ง เดอลอเรียน ให้ดูเหมือนเครื่องย้อนเวลาในหนังก็ถูกวางจำหน่ายตามมา
-ไมเคิล เจ ฟ็อกซ์ เคยให้สัมภาษณ์ว่า มักจะเจอคนแปลกหน้าเรียกเค้าว่า “แม็คฟลาย” อยู่เป็นประจำจนถึงปัจจุบัน แต่ที่ฮาที่สุดคือ ตอนที่เที่ยวอยู่ในป่าที่ห่างไกลในประเทศภูฏาน กลุ่มพระสงฆ์เดินสวนไมเคิล เจ ฟ็อกซ์ แล้วพระรูปนึงอยู่ดีๆ ก็จ้องมามองแล้วเรียก “มาร์ตี้ แม็คฟลาย”
-บทภาพยนต์นี้ถูกปฏิเสธถึง 44 ครั้ง
-หนังออกฉายครั้งแรก 3 ก.ค. 1985 หลังจากนั้นอีกประมาณ 3 เดือนถัดมา มีกลุ่มคนไปรอที่ห้าง Twin Pines Mall โดยหวังว่า “มาร์ตี้ แม็คฟลาย” จะปรากฏตัวพร้อมกับรถเดอลอเรียน (ตามวันในหนัง 26 ตุลาคม 1985) และแน่นอนว่ามันไม่มีอะไรเกิดขึ้นหรอกในวันนั้น
-Claudia Wells นักแสดงเจ้าของบทบาทแฟนของมาร์ตี้ หรือ Jennifer Parker ได้ยกบทบาทนี้ให้กับนักแสดงคนอื่นแทนในภาค 2 และ 3 เนื่องจากแม่ของเธอตรวจพบเนื้อร้าย Elisabeth Shue มาแสดงแทนในภาค 2 และ 3 เท่านั้นยังไม่พอ ต้องถ่ายซ่อมตอนท้ายของภาคแรกอีกด้วย
-หนังเรื่องนี้ได้ถูกขึ้นทะเบียนสำหรับอนุรักษ์จากสำนักทะเบียนภาพยนตร์แห่งชาติ ในฐานะที่เป็น “วัฒนธรรมประวัติศาสตร์หรือมีความหมายเชิงสุนทรียภาพ” (culturally, historically, or aesthetically significant) ในปี 2007
-แรงบันดาลใจในการเขียนเรื่องนี้ขึ้นมา ก็เพราะ บ็อบ เกล ไปเปิดอ่านหนังสือรุ่นสมัยมัธยมของพ่อ แล้วก็มีความคิดแว๊บขึ้นมาว่า ถ้าย้อนเวลาไปช่วงที่พ่อเค้าเรียนอยู่ได้ การเป็นเพื่อนกับพ่อในวัยเรียนนั้นคงสนุกน่าดู
-Crispin Glover (ผู้แสดงบท จอร์จ แม็คฟลาย – พ่อของมาร์ตี้) บอกว่าเค้าเคยดูหนังเรื่องนี้แค่รอบเดียวเท่านั้น แต่ตรงกันข้ามกับ Christopher Lloyd (ผู้รับบท “ด็อก บราวน์”) บอกว่า หากเค้าเปลี่ยนช่องไปเจอหนังเรื่องนี้เมื่อไหร่ ต้องมีสะดุดแล้วก็เริ่มดูมันจนจบอยู่บ่อยๆ
-Huey Lewis เจ้าของเพลง The Power Of Love ได้แสดงในหนังเรื่องนี้ด้วย โดยรับบทเป็น 1 ในกรรมการ ที่มาร์ตี้ ออดิชั่นเพื่อเล่นเพลงในงานเลี้ยงของโรงเรียน โดย Huey Lewis มีบทในภาพยนตร์ว่า “just too darn loud” (หนวกหูเกินไป) แต่นั่นเค้าก็เป็นคนแต่งเพลงที่มาร์ตี้ออดิชั่นในหนังอีกอยู่ดี
อยากจะเขียนอะไรก็เขียนอ่ะครับ แต่มีผู้ช่วยเขียนเป็น A.I. หากเขียนผิดหรือตกหล่นไปก็ขออภัยล่วงหน้านะครับ