Skip to content

Drive-In Saturday เพลงที่เดวิด โบวี่ เล่าถึงเมื่อโลกพังทลายลงมา แล้วคนเราจะรักกันยังไง

เวลาที่ใช้อ่าน : 3 นาที

ในเพลง Drive-In Saturday นั้น เดวิด โบวี่ ได้บรรยายถึงบรรยากาศความเป็นอยู่หลังสงครามเย็นได้ปะทุขึ้นกันจริง ที่เป็นสงครามระหว่างสองขั้วอำนาจทางการเมืองของโลกคือ อเมริกาและสหภาพโซเวียต และแน่นอนมันรุนแรงกว่าช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะ การใช้อาวุธนิวเคลียร์ทั้งคู่ ทำให้โลกหลังสงครามนั้นพังทลายและผู้คนไม่รู้จักความรักอีกต่อไป แต่สิ่งเดียวที่จะทำให้รำลึกถึงคนเรานั้นรักกันยังไงนั้น ต้องผ่านการดูภาพยนตร์โรแมนติกที่ถูกสร้างไว้เมื่อในอดีตเท่านั้น

นับว่าเป็นไอเดียของเดวิด โบวี่ ที่ล้ำสมัยและย้อนอดีตในคราวเดียวกัน เค้าแต่งเพลงนี้ในระหว่างที่ทัวร์อยู่ในอเมริกา ปี 1972 ระหว่างเดินทางจากเมืองซีแอตเติล รัฐวอชิงตัน ไปเมืองฟีนิกซ์ รัฐอริโซน่าด้วยรถไฟ ที่เส้นทางไม่มีวิวอะไรน่าสนใจ มีแต่ไร่สวนทุ่งหญ้าพร้อมแสงไฟแปลกๆ ระหว่างผ่านเมืองเท่านั้น (เอาจริงๆ เป็นเส้นทางที่โคตรไกลมาก เดวิด โบวี่น่าจะใช้เวลาบนรถไฟเกือบ 2 วันเต็มแน่ๆ ครับ) ด้วยบรรยากาศช่วงปี 70’s นั้น มีความตึงเครียดของการจะเกิดสงครามนิวเคลียร์เป็นอย่างมาก นิวเคลียร์ของสหภาพโซเวียตก็มาจ่อใกล้อเมริกามากอยู่ที่คิวบา ซึ่งห่างจากไมอามี่แค่สองร้อยกว่ากิโลเมตร ไหนจะผลพวงจากสงครามเวียดนามในช่วงนั้นอีก รวมถึงเค้าเกิดในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ในวัยเด็กเลยน่าจะเป็นช่วงที่ในอังกฤษกำลังบูรณะอยู่ เลยจินตนาการว่าหลังโลกล่มสลายและระหว่างกำลังก่อร้างสร้างตัวกันใหม่นั้น บรรยากาศคงต่างออกไป ผู้คนคงไม่รู้จักว่าจะรักกันยังไง สิ่งเดียวที่จะทำให้ระลึกถึงได้คือผ่านภาพยนตร์ ที่เค้ารำลึกถึงในช่วงทศวรรศที่ 50’s ที่ประชาชนอเมริกันในยุคนั้นนิยมขับรถไปดูหนังกางแปลงและนั่งชมสวีทกันในรถยนตร์นั่นแหละครับ เลยออกมาเป็นเนื้อหาของเพลงนี้

ในเนื้อเพลงยังได้ใส่ความเป็นไอคอนนิคของยุคสมัยนั้นอย่าง Mick Jagger นักร้องนำของ The Rolling Stones ที่ตอนนั้นโด่งดังสุดขีดไปแล้วแต่เดวิด โบวี่เองยังกำลังไต่เต้า, จิตแพทย์ชื่อดังชาวสวิส Carl Jung, นางแบบซุปเปอร์โมเดล Twiggy (ซึ่งภายหลังเธอได้ถ่ายปกอัลบั้ม Pin Ups กับเดวิด โบวี่ ที่ออกในปี 1973)

รวมถึงทำนองของดนตรีนั้น ยังได้รับอิทธิพลของแนวดนตรี doo-wop (ดูวอป) ที่เป็นแนวนึงของริทึ่มแอนด์บูลส์ที่เน้นเสียงร้องเสียงประสานแบบเรียบง่ายของชาวแอฟริกัน-อเมริกันช่วงยุค 1940’s – 1950’s ซึ่งทำให้สอดคล้องในการรำลึกถึงอดีตและเล่าถึงเรื่องจินตนาการในอนาคตออกมาได้อย่างเท่มากๆ ในร่างของ Ziggy Stardust ซึ่งหลังจากแต่งเพลงนี้เสร็จไม่กี่ชั่วโมง เดวิด โบวี่ ก็เล่นเพลงนี้โชว์ให้กับแฟนๆ ในฟีนิกซ์ได้ฟังเป็นครั้งแรกในวันที่ 4 พฤศจิกายน 1972

ซึ่งเพลงนี้เดวิด โบวี่ ได้นำไปอยู่อัลบั้ม Aladdin Sane ออกจำหน่ายในวันที่ 20 เมษายน 1973 แต่ก่อนที่จะนำมาอยู่ในอัลบั้มนี้นั้น เค้าได้เคยนำเพลงนี้ให้กับวงที่ปลุกปั้นมาอย่าง Mott The Hoople ที่เค้าเป็นแฟนวงนี้และเอาใจช่วยมาตลอด จนวันนึงที่วงใกล้จะแตกหักเพราะไม่ประสบความสำเร็จสักที ซึ่งก็เป็นเดวิด โบวี่เองที่เป็นกาวใจให้กับวงนั้นทำกันต่อ จนเค้ามอบเพลง All the Young Dudes จนทำให้วงเริ่มโด่งดัง (อัลบั้ม All the Young Dudes ออกในเดือน กันยายน 1972)

แต่แล้ว Ian Hunter นักร้องนำของวงได้ปฏิเสธเพลงนี้ จากคนคนนี้ที่นำความสำเร็จมาให้วงแท้ๆ เมื่อเดวิด โบวี่ เล่นเพลงนี้ให้พวกเค้าดู พวกเค้ามองว่าเพลงมันแย่มากๆ ทั้งทำนองและเนื้อร้อง มันดูโคตรจะเป็นบ๊อบ ดีแลนยังไงไม่รู้ แต่ในเมื่อเค้าปฏิเสธเพลงนี้ของเดวิด โบวี่ ทำให้ความสัมพันธ์ในการทำช่วยทำวง Mott The Hoople จบลงด้วยเช่นกัน ซึ่งหลังจากนั้นเดวิด โบวี่เสียใจมาก ถึงกับโกนคิ้วประชดแม่งเลย เพื่อสอนให้พวกเค้าเห็นว่า พวกเค้าปฏิเสธสิ่งดีๆ ที่ให้ไปยังไง เราจะได้เห็นเดวิด โบวี่ คิ้วหายไปช่วงทัวร์ Ziggy Stardust ถึงปี 1974 โน่นเลย แต่แล้วสุดท้ายวง Mott The Hoople ก็ไปไม่รอด วงแตกหลังจากออกอัลบั้มได้อีก 2 อัลบั้มและเปลี่ยนสมาชิกในวงได้เปลืองมาก

เล่าเรื่องความเท่ของเพลง Drive-In Saturday ได้ประมาณนี้ครับ ส่วนตัวคิดว่าเป็นเพลงที่แต่งออกมาใน 2 ยุคในเพลงเดียวได้ดีจริงๆ ก็เขียนขึ้นมาเพื่อรำลึกถึง David Bowie ผู้ล่วงลับ ซึ่งวันนี้ก็ครบรอบ 7 ปีการเสียชีวิตของเค้าในวันนี้

แปลเพลง Drive-In Saturday

Let me put my arms around your head | ให้ฉันโอบเธอไว้แนบศีรษะ

Gee, it’s hot, let’s go to bed | อากาศร้อนเหลือเกิน ไปนอนกันเถอะ

Don’t forget to turn on the light | อย่าลืมเปิดไฟเอาไว้ด้วยนะ

Don’t laugh babe, it’ll be alright | อย่าหัวเราะเลยที่รัก ทุกอย่างจะโอเค

(ท่อนนี้ให้ความรู้สึกถึงบรรยากาศของคู่รักที่กำลังพยายามเชื่อมโยงกันในโลกอนาคตที่แปลกแยก แม้จะพยายามใกล้ชิด แต่ก็ยังมีระยะห่างอยู่)

Pour me out another phone | รินมาอีกแก้วแทนเสียงโทรศัพท์

I’ll ring and see if your friends are home | เดี๋ยวจะลองโทรหาเพื่อน ๆ ดู

Perhaps the strange ones in the dome | หรือบางที พวกคนแปลก ๆ ในโดมนั่น

Can lend us a book we can read up alone | จะให้หนังสือเราไว้ อ่านกันสองคน

(โลกในเพลงดูเหมือนเป็นอนาคตที่ผู้คนต้องเรียนรู้ความรักจากหนังสือหรือภาพยนตร์ เพราะพวกเขาหลงลืมความสัมพันธ์ที่แท้จริงไปแล้ว “dome” อาจหมายถึงเมืองในโดมที่แยกออกจากโลกภายนอก)

And try to get it on like once before | แล้วลองทำแบบเมื่อก่อนอีกสักครั้ง

When people stared in Jagger’s eyes and scored | ตอนที่ผู้คนจ้องตา Mick Jagger (ไอคอนร็อกแห่งยุค) แล้วเคลิบเคลิ้มไปกับเขา

Like the video films we saw | เหมือนหนังเก่าที่เราเคยดู

(ท่อนนี้สื่อถึงยุค 60s-70s ที่ดนตรีและวัฒนธรรมป๊อปเป็นสัญลักษณ์ของความหลงใหลและความรัก ตอนนี้ผู้คนในโลกอนาคตต้องพยายาม “เรียนรู้” สิ่งเหล่านั้นผ่านวิดีโอแทน)

His name was always Buddy | เขาชื่อ Buddy เสมอมา (ชื่อที่ฟังดูเป็นชายหนุ่มธรรมดา ๆ)

And he’d shrug and ask to stay | เขาไหวไหล่ ขออยู่ต่ออีกหน่อย

And she’d sigh like Twig the Wonder Kid | ส่วนเธอถอนหายใจเหมือน Twiggy (นางแบบดังแห่งยุค 70s)

And turn her face away | แล้วเบือนหน้าหนี

She’s uncertain if she likes him | เธอไม่แน่ใจว่าเธอชอบเขาหรือเปล่า

But she knows she really loves him | แต่เธอรู้ดีว่าเธอรักเขา

It’s a crash course for the ravers | เป็นบทเรียนเร่งรัดสำหรับคนรุ่นใหม่ (ที่ต้องเรียนรู้เรื่องรักเหมือนเป็นวิชาในโรงเรียน)

It’s a Drive-In Saturday | เป็นคืนเสาร์ในยุคโรงหนังไดรฟ์-อิน (ที่ทุกอย่างเหมือนหนังย้อนยุค)

(ท่อนนี้แสดงให้เห็นถึงความสับสนของตัวละครหญิงที่ไม่แน่ใจในความรัก แต่ก็ยังพยายามเรียนรู้ไปตามกระแส เหมือนกับโลกที่ต้อง “จำลอง” ความสัมพันธ์ขึ้นมาใหม่)

Jung the foreman prayed at work | Jung หัวหน้าคนงานอธิษฐานกลางงาน

That neither hands nor limbs would burst | ขออย่าให้แขนขาขาดกระจาย

It’s hard enough to keep formation | แค่รักษารูปขบวนยังยากเหลือหลาย

With this fall out saturation | ท่ามกลางมลพิษและสารกัมมันตรังสีที่กระจายตัว

(Jung อาจเป็นเพียงชื่อคนงานในเพลง หรืออาจแฝงนัยถึง Carl Jung นักจิตวิเคราะห์ ผู้ศึกษาเรื่องจิตใต้สำนึกและความทรงจำร่วมของมนุษย์ ซึ่งสอดคล้องกับธีมของเพลงที่พูดถึงการฟื้นฟูพฤติกรรมในอดีต)

Cursing at the Astronette | เขาสบถใส่สาวน้อยอวกาศ (Astronette อาจหมายถึงหญิงสาวลึกลับ หรือหุ่นยนต์แห่งอนาคต)

That stands in the steel by his cabinet | ที่ยืนเฝ้าอยู่ข้างตู้เหล็กของเขา

He’s crashing out with Sylvian | เขากำลังล้มตัวลงกับ Sylvian (อาจเป็นชื่อคนหรือบางสิ่งที่ช่วยให้เขาหลุดพ้นจากความจริง)

The Bureau Supply for aging men | หน่วยงานที่คอยจัดหาของให้ชายวัยทอง

(ท่อนนี้ให้บรรยากาศของโลกอนาคตที่ถูกควบคุมโดยองค์กร หรือรัฐที่ต้องดูแลประชากรสูงวัย ซึ่งอาจสื่อถึงการล่มสลายของสังคมแบบเก่า ที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้นเรื่อย ๆ)

With snorting head he gazes to the shore | เขาสูดลมหายใจแรง มองไปยังชายฝั่ง

Which once had raised a sea that raged no more | ที่เคยมีคลื่นซัดสาด แต่บัดนี้เงียบงัน

Like the video films we saw | เหมือนหนังเก่าที่เราเคยดู

(เป็นการเปรียบเทียบอดีตกับปัจจุบัน ทะเลที่เคยมีคลื่นอาจหมายถึงอดีตที่เต็มไปด้วยอารมณ์และความหลงใหล แต่ตอนนี้ทุกอย่างเงียบสงบและจืดชืด เหลือเพียงภาพจำจากวิดีโอเท่านั้น)

His name was always Buddy | เขาชื่อ Buddy เสมอมา

And he’d shrug and ask to stay | เขาไหวไหล่ ขออยู่ต่ออีกหน่อย

And she’d sigh like Twig the Wonder Kid | ส่วนเธอถอนหายใจเหมือน Twiggy เด็กสาวมหัศจรรย์

And turn her face away | แล้วเบือนหน้าหนี

She’s uncertain if she likes him | เธอไม่แน่ใจว่าเธอชอบเขาหรือเปล่า

But she knows she really loves him | แต่เธอรู้ดีว่าเธอรักเขา

It’s a crash course for the ravers | เป็นบทเรียนเร่งรัดสำหรับคนรุ่นใหม่

It’s a Drive-In Saturday | เป็นคืนเสาร์ในยุคไดรฟ์-อิน ที่เต็มไปด้วยภาพความทรงจำ

ที่มา : songfacts.com

แสดงความคิดเห็น : Kitchen Rai

Your email address will not be published. Required fields are marked *


Optimized by Optimole