Skip to content

รายชื่อสแตนด์ JOJO พร้อมที่มาของชื่อสแตนด์และตัวละครในภาค Diamond Is Unbreakable

เวลาที่ใช้อ่าน : 6 นาที

บทความนี้จะพาไปรู้จักที่มาชื่อของสแตนด์ใน โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ ภาค Diamond is Unbreakable : เพชรแท้ไม่มีวันสลาย ที่ส่วนใหญ่ชื่อของสแตนด์นั้นเป็นชื่อวงดนตรีหรือเพลง จะมาแนะนำที่มาของชื่อให้รู้จักกันมากขึ้นกันครับ

มีโพสท์สแตนด์ภาคอื่นๆ อีก คลิกด้านล่างได้เลยครับ 👇👇👇

ฮิงาชิคาตะ โจสุเกะ (東方 仗助 / Higashikata Jōsuke)

สแตนด์ : เครซี่ ไดมอนด์ (Crazy Diamond)

ชื่อสแตนด์ “เครซี่ ไดมอนด์” นั้นนำมาจากเพลง “Shine On You Crazy Diamond” ของวงโปรเกสซีฟร็อคแห่งยุค “PINK FLOYD” ซึ่งเพลงนี้จะอยู่ในอัลบั้ม Wish You Were Here ในปี 1975 แม้จะมีเพลงอยู่ในอัลบั้มแค่ 4 เพลง แต่ระยะเวลาของเพลงทั้งหมดรวมกันถึง 44.28 นาที โดยเพลง “Shine On You Crazy Diamond” ถูกแบ่งเป็น 9 พาร์ท แยกออกเป็น 2 ซิงเกิล อันแรกจะเป็นพาร์ท 1-5 มีระยะเวลา 13:32 นาที และสุดท้ายจะปิดด้วยพาร์ท 6-9 ระยะเวลา 12:28 นาที หากฟังต่อทั้งทุกพาร์ทจะรวมเป็น 26 นาทีพอดี เพลงนี้ทางวงแต่งเพื่อรำลึกถึงให้อดีตเพื่อนร่วมวงและผู้ร่วมก่อตั้งวงในช่วงแรกๆ “Syd Barrett” อัจฉริยะทางดนตรีที่สติกระเจิงเพราะฤทธิ์ยา LSD ที่ทางวงทุกคนพยายามช่วยเหลือแล้วแต่สุดท้ายก็กู่ไม่กลับ ซึ่งเปรียบเสมือนซิดเป็น “Crazy Diamond” แม้จะเสียสติแต่เค้าก็ยังเป็นเพชรแท้ และ Shine on เพื่อให้แสงส่องไปหาซิดนั่นแหละครับ หรือจะเอาจะคำในชื่อเพลงมาเรียงกันก็เป็นชื่อซิดด้วยเหมือนกันอีก Shine On You Crazy Diamond = SYD ในส่วนของเมโลดี้นั้นจะค่อนข้างเนิบๆ ช้าแต่ว่าซับซ้อน สมัยวัยรุ่นฟังใหม่ๆ นี่ไม่โดนใจอย่างมาก แต่พอสัมผัสและเข้าถึงมันเท่านั้นแหละ ฟังวนมาเรื่อยๆ มาเกิน 20 กว่าปีได้ไม่เบื่อเลย เคยได้ยินเค้าพูดกันว่า “หากเข้าถึงดนตรี Prog Rock แล้วมันจะไปไหนไม่ได้ จะกลับมาฟังเรื่อยๆ” ก็ไม่คิดว่าจะเกิดขึ้นกับตัวเอง (ส่วนในเน็ตฟลิกซ์ไทยใช้ชื่อว่า ไชน์นิ่ง ไดมอนด์ – Shining Diamond)

นิจิมูระ โอคุยาสึ (虹村億奏 , Nijimura Okuyasu)

สแตนด์ : เดอะแฮนด์ (The Hand)

สแตนด์ “เดอะ แฮนด์” น่าจะนำมาจาก “The Band” แนวคันทรีร็อคสัญชาติแคนาดาช่วงยุค 60’s – 70’s เดิมทีวงนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ The Hawks ซึ่งเป็นวงแบคอัพให้ Ronnie Hawkins แนวร็อกอะบิลลี หลังจากนั้นเปลี่ยนชื่อเป็น “The Band” ปล่อยผลงานหลายชุดที่ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์และเป็นที่นิยม โดยเฉพาะอัลบั้มเปิดตัว Music from Big Pink ในปี 1968 ที่อัลบั้มนี้มีอิทธิพลต่อนักดนตรีหลายรุ่นอย่างมาก เช่น Roger Waters ส่วนเพลงยอดนิยมของพวกเขา ได้แก่ “The Weight”, “The Night They Drove Old Dixie Down” และ “Up on Cripple Creek”

ฮิโรเสะ โคอิจิ (広濑康一, Hirose Koichi )

สแตนด์ : เอคโค่ส์ (Echoes)

สแตนด์ “เอคโค่ส์” นั้นนำมาจากเพลง “Echoes” จากวง PINK FLOYD วงเดียวกับสแตนด์ของโจสุเกะ แต่ว่าคนละอัลบั้มกัน เพราะถูกบรรจุอยู่ในอัลบั้ม “Meddle” ในปี 1971 อัลบั้มนี้มีทั้งหมด 6 เพลงกับระยะเวลา 46:48 นาที แต่ว่าแค่เพลง Echoes เพลงเดียวก็กินเวลาไป 23:31นาทีเลยทีเดียว และเพลงนี้ท่อนริฟท์ของกีต้าร์นั้นเหมือนกับเพลงละครเวที Phantom of the Opera ของ Andrew Lloyd Webber ที่แต่งขึ้นทีหลังในปี 1986 เหมือนจนโรเจอร์ วอเตอรส์ ผู้เขียนเนื้อร้องและมือเบส Pink Floyd ร้องเหี้ยออกมาดังๆเลย แม้ว่าโรเจอร์ วอเตอรส์เคยคิดจะฟ้องร้อง แต่เค้าก็เปลี่ยนใจไม่ทำมันในที่สุด คงคิดว่าเอาเวลาขึ้นโรงขึ้นศาลไปทำอย่างอื่นดีกว่า และในปี 1992 ตอนที่ออกมาทำอัลบั้มเดี่ยว Amused to Death ก็ได้ร้องดิส(Dissed)ไปยังแอนดรูว ลอยด์ เว็บเบอร์ ตรงๆ ในเพลง It’s a Miracle ของโรเจอร์เอง

เพลง Echoes ขับร้องโดยมือกีต้าร์ David Gilmour และมือคีย์บอร์ด Richard Wright นับว่าเป็นเพลงที่เริ่มเป็นจุดเปลี่ยนผ่านของวงเข้าสู่กระแสหลักและรับความนิยมมากขึ้น หลังจากที่ทำเพลงทำอัลบั้มแนวทดลองมา 5 อัลบั้ม

คิชิเบะ โรฮัง (岸辺露伴 , Kishibe Rohan)

สแตนด์ : เฮเว่นส์ดอร์ (Heaven’s Door)

สแตนด์ “เฮเว่นส์ดอร์” นั้นนำมาจากชื่อเพลง “Knockin’ on Heaven’s Door” ของ Bob Dylan ที่แต่งเพื่อประกอบภาพยนตร์คาวบอย  Pat Garrett and Billy the Kid ในปี 1973 ซึ่งหลังจากหนังออกฉายเพลงนี้ก็ได้ความนิยมติดชาร์ทในหลายๆประเทศ หลังจากนั้นก็ถูกนำไปคัฟเวอร์จากศิลปินอื่นๆ อีกอย่าง Eric Clapton, Guns N’ Roses, Randy Crawford และอีกหลายๆ ศิลปิน รวมถึงยังถูกนำไปประกอบภาพยนตร์และซีรี่ย์มากกว่า 30 กว่าเรื่อง

คิระ โยชิคาเงะ (吉良吉影 , Kira Yoshikage)

สแตนด์ : คิลเลอร์ควีน (Killer Queen) / เชียร์ฮาร์ตแอ็ทแทค (Sheer Heart Attack) / ไบท์เดอะดัสต์ (Bite the Dust)

สแตนด์ของตัวร้ายนี้มีถึง 3 สแตนด์ด้วยกัน ตัวแรกชื่อ “คิลเลอร์ควีน” มาจากเพลง “Killer Queen” ของวง “Queen” ในอัลบั้ม Sheer Heart Attack ในปี 1974 ซึ่งก็เป็นชื่อสแตนด์ตัวที่ 2 ของคิระ แต่ว่าภายหลัง ในปี 1977 ในอัลบั้ม News of the World ก็ออกเพลงที่มีชื่อ Sheer Heart Attack ซึ่งเดิมทีทางวงตั้งใจจะใส่เพลงนี้ไว้ในอัลบั้มในชื่อเดียวกันซึ่งน่าจะยังไม่สมบูรณ์ดีในตอนนั้นเลยเลื่อนมาบรรจุในอีกอัลบั้มหลังจากนั้นอีก 3 ปี


ส่วนสแตนด์ตัวสุดท้าย มาจากเพลงของ Queen อัลบั้ม The Game ปี 1980 เพลง Another One Bites the Dust เป็นเพลงที่มีลายเซ็นของเสียงเบสอย่างมาก ซึ่งแต่งโดย John Deacon มือเบสของวง

ยูคาโกะ ยามางิชิ (山岸 由花子 , Yukako Yamagishi)

สแตนด์ : เลิฟ เดอลุกซ์ (Love Deluxe)

สแตนด์ที่เป็นเส้นผมของยูคาโกะ “เลิฟ เดอลุกซ์” มาจากชื่ออัลบั้ม Love Deluxe ปี 1992 ของวง Sade (ชา-เดย์) จากอังกฤษ อัลบั้มนี้มีเพลงที่แนะนำอย่าง “No Ordinary Love”, “Feel No Pain”, “Kiss of Life” และ “Cherish the Day”

ยังงุ ชิเงจิโยะ ‘ชิเงจี้’ (矢安宮 重清 , Yangū Shigekiyo / 重ちー Shigechī)

สแตนด์ : ฮาร์เวสท์ (Harvest)

ชื่อสแตนด์นั้นมาจากชื่ออัลบั้ม Harvest ของศิลปินคันทรี่ร็อค โฟล์กร็อค Neil Young ในปี 1972 มีเพลงที่แนะนำในอัลบั้มนี้อย่างเพลง “Heart of Gold”, “Old Man”, “A Man Needs a Maid”, “The Needle and the Damage Done” และ “Are You Ready for the Country?”

ฮาเซคุระ มิกิทากะ (支倉 未起隆 , Hazekura Mikitaka)

สแตนด์ : เอิร์ธ วินด์ แอนด์ไฟเออร์ (Earth Wind and Fire)

ชื่อสแตนด์นำมาจากชื่อวงฟั้งค์, โซล, R&B “Earth Wind and Fire” ที่มีเพลงจากปี 1978 โด่งดังในปีนั้น ก็ยังกลับมาฮิตปัจจุบันโดยเฉพาะใน TikTok เพลง “September” นอกจากเพลงนี้ยังมีเพลงอื่นๆ ที่แนะนำอย่างเพลง “Boogie Wonderland”, “Let’s Groove”, “Shining Star”, “Fantasy” และ “After the Love Has Gone”

ยูยะ ฟุงามิ(Yuya Fungami , 噴上 裕也)

สแตนด์ : ไฮเวย์ สตาร์ (Highway Star)

ชื่อสแตนด์มาจากชื่อเพลง Highway Star ของวงร็อคจากอังกฤษ Deep Purple ที่อยู่ในอัลบั้ม Machine Head ในปี 1972 เป็นเพลงที่มีจังหวะเร็วที่สุดของอัลบั้ม มีท่อนริฟท์เท่ๆ โซโล่มันๆ ทั้งจากกีต้าร์และคีย์บอร์ด

โทนิโอ ทรัสซาดี้ (Tonio Trussardi ,トニオ・トラサルディ)

สแตนด์ : เพิร์ล แจม (Pearl Jam)

ชื่อสแตนด์มาจากวง Pearl Jam วงอัลเตอร์เนทีฟจากซีแอตเติล สหรัฐอเมริกาในช่วงยุค 90’s มีอัลบั้มที่ประสบความสำเร็จอย่าง “Ten” (1991), “Vs.” (1993), “Vitalogy” (1994), “No Code” (1996) และ “Yield” (1998) ส่วนเพลงที่แนะนำ ได้แก่ “Alive”, “Jeremy”, “Black”, “Even Flow” และ “Better Man”

อายะ สึจิ (Aya Tsuji , 辻 彩)

สแตนด์ : ซินเดอร์เรลลา (Cinderella)

ชื่อสแตนด์มาจากวง “Cinderella”วงร็อคสัญชาติอเมริกันที่ก่อตั้งในช่วงต้นทศวรรษ 1980 เป็นที่รู้จักจากส่วนผสมของฮาร์ดร็อก เฮฟวีเมทัล และแกลมเมทัล มีอัลบั้มและซิงเกิลฮิตมากมายในช่วงปลายทศวรรษ 1980 และต้นทศวรรษ 1990 และถือเป็นหนึ่งในวงดนตรีที่โดดเด่นที่สุดในยุคนั้น เพลงที่แนะนำสำหรับวงนี้คือ “Nobody’s Fool”, “Shake Me”, “Gypsy Road”, “Shelter Me” และ “Don’t Know What You Got (Till It’s Gone)”

ชิซุกะ โจสตาร์ (Shizuka Joestar , 静・ジョースター)

สแตนด์ : อัชตุง เบบี้ (Achtung Baby)

ชื่อสแตนด์มาจากอัลบั้ม “Achtung Baby” สตูดิโออัลบั้มชุดที่ 7 ของวงดนตรีร็อกสัญชาติไอริช U2 ออกจำหน่ายในปี 1991 ถือเป็นการออกจากแนวเพลงเดิมๆ อย่างเห็นได้ชัด และเป็นที่รู้จักจากอิทธิพลทางอุตสาหกรรมและอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการเข้าสู่ธีมที่มืดมนขึ้น ทำใหเป็นหนึ่งในอัลบั้มที่ได้รับการยกย่องและประสบความสำเร็จมากที่สุดของวง และเป็นจุดเปลี่ยนของวงเลยทีเดียว เพลงที่แนะนำ “One”, “Mysterious Ways”, “The Fly”, “Even Better Than the Real Thing” และ “Who’s Gonna Ride Your Wild Horses”

เคโจ นิจิมูระ (Keicho Nijimura , 虹村 形兆)

สแตนด์ : แบด คอมปาณี (Bad Company)

ชื่อสแตนด์มาจากวง “Bad Company” วงร็อกซูเปอร์กรุ๊ปของอังกฤษที่ประกอบด้วยสมาชิกจาก Free, Mott the Hoople และ King Crimson มีผลงานตั้งแต่ปี 1973 ถึง 1982 และอีกครั้งตั้งแต่ปี 1986 จนถึงปัจจุบัน วงดนตรีที่เป็นที่รู้จักจากการผสมผสานระหว่างบลูส์ร็อก ฮาร์ดร็อก และเซาเทิร์นร็อก มีอัลบั้มและซิงเกิลฮิตมากมายในช่วงทศวรรษ 1970 ถือเป็นหนึ่งในวงดนตรีที่ได้รับความนิยมและประสบความสำเร็จมากที่สุดในยุคนั้น เพลงที่แนะนำ “Feel Like Makin’ Love”, “Can’t Get Enough”, “Bad Company”, “Shooting Star” และ “Rock ‘n’ Roll Fantasy”

ทามานิ โกบายาชิ (Tamami Kobayashi , 小林 玉美)

สแตนด์ : เดอะ ล็อค (The Lock)

ชื่อสแตนด์ สแลงมาจากเพลง The Rock ของวง The Who ซึ่งอยู่ในสตูดิโออัลบั้มชุดที่หก”Quadrophenia” วางจำหน่ายในปี 1973 ถือเป็นเพลงแนวทดลองที่ซับซ้อนที่สุดเพลงหนึ่งของวง ขึ้นชื่อเรื่องการผสมผสานระหว่างร็อกและองค์ประกอบออเคสตร้า และเนื้อเพลงที่ทรงพลัง มันเป็นจุดสำคัญในอัลบั้มและถือเป็นคลาสสิกของวง

โทชิคาสึ ฮาซามาดะ (Toshikazu Hazamada , 間田 敏和)

สแตนด์ : เซอเฟซ (Surface)

ชื่อสแตนด์มาจากวง “Surface” วงดนตรีแนวอาร์แอนด์บีและฟังค์สัญชาติอเมริกัน มีผลงานตั้งแต่ปี 1983 ถึง 1994 และอีกครั้งในปี 2018 วงนี้เป็นที่รู้จักจากเพลงฮิต “The First Time” และ “Shower Me With Your Love” ถือว่าเป็นหนึ่งในวงดนตรี R&B ที่ได้รับความนิยมและประสบความสำเร็จมากที่สุดในยุคนั้น

อากิระ โอโตอิชิ (Akira Otoishi , 音石 明)

สแตนด์ : เรด ฮอท ชิลี่ เปปเปอร์ (Red Hot Chili Pepper)

ชื่อสแตนด์มาจากวง Red Hot Chili Peppers เป็นวงร็อกอเมริกันที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1983 เป็นที่รู้จักจากการผสมผสานระหว่างฟังค์ พังก์ และไซเคเดลิกร็อกออกอัลบั้มมาแล้วกว่าสิบอัลบั้มและถือเป็นหนึ่งในวงดนตรีที่ขายดีที่สุดตลอดกาล ด้วยยอดขายกว่า 80 ล้านแผ่นทั่วโลก ถือเป็นวงดนตรีที่โดดเด่นและมีอิทธิพลที่สุดวงหนึ่งของยุคอัลเทอร์เนทีฟร็อก เพลงที่แนะนำ “Under the Bridge”, “Californication”, “Scar Tissue”, “By the Way” และ “Can’t Stop”

มัชชิกุย (Bug-Eaten , 虫喰い)

สแตนด์ : แรท (Ratt)

สแตนด์ของเค้าหนูจอมแทะ มีสแตนด์ชื่อ “แรท” ซึ่งนำมาจากวง Ratt วงเฮฟวีเมทัลสัญชาติอเมริกันที่ก่อตั้งในซานดิเอโก แคลิฟอร์เนีย ในปี 1976 เป็นที่รู้จักจากเพลงฮิตในช่วงปี 1980 เช่น “Round and Round” และ “Lay It Down” และถือเป็นหนึ่งในวงที่ได้รับความนิยมและประสบความสำเร็จมากที่สุด วงดนตรีแห่งยุคแฮร์เมทัลที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนาแนวเพลงนี้

โยชิฮิโระ คิระ (Yoshihiro Kira , 吉良 吉廣)

สแตนด์ : อะตอม ฮาร์ท ฟาเธอร์ (Atom Heart Father)

ชื่อสแตนด์สแลงมาจากอัลบั้ม Atom Heart Mother อัลบั้มชุดที่ 5 ของวง Pink Floyd ออกจำหน่ายในปี 1970 เป็นที่รู้จักดนตรีที่ประณีตและแนวดนตรีทดลอง โดยเฉพาะเพลง Atom Heart Mother ซึ่งมีนักร้องประสานเสียงและวงออเคสตราครบชุด ถือว่าเป็นผลงานที่ทะเยอทะยานมากที่สุดของวง และเป็นอัลบั้มแรกของ Pink Floyd ที่ขึ้นอันดับหนึ่งใน UK Albums Chart

ทามะ (Tama , タマ)

สแตนด์ : สเตรย์ แคท (Stray Cat)

สแตนด์นำมาจากชื่อวง “Stray Cats” วงร็อกอะบิลลีที่ก่อตั้งขึ้นในนิวยอร์กปี 1979 เป็นที่รู้จักจากเพลงฮิตในช่วงต้นทศวรรษ 1980 เช่น “Stray Cat Strut” และ “Rock This Town” และถือเป็นหนึ่งในวงดนตรีที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของยุคฟื้นฟูร็อกอะบิลลีซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากวงนึง

เคน โอยานางิ (Ken Oyanagi , 大柳 賢 )

สแตนด์ : บอย ทู แมน (Boy II Man)

ชื่อสแตนด์สแลงมาจากวง “Boyz II Men” กลุ่มนักร้องแนวอาร์แอนด์บีชาวอเมริกันที่ก่อตั้งขึ้นในฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนียในปี 1988 พวกเขาเป็นที่รู้จักจากเพลงฮิตในช่วงปี 1990 เช่น “End of the Road” และ “I’ll Make Love to You” และถือเป็นหนึ่งใน กลุ่มอาร์แอนด์บีที่ประสบความสำเร็จสูงสุดตลอดกาลด้วยอัลบั้มและซิงเกิลฮิตมากมาย ยอดขายได้มากกว่า 60 ล้านแผ่นทั่วโลก

โตโยฮิโระ คาเนะไดจิ (Toyohiro Kanedaichi , 鋼田一 豊大)

สแตนด์ : ซุปเปอร์ ฟลาย (Super Fly)

ชื่อสแตนด์นำมาจากอัลบั้ม “Super Fly” อัลบั้มชุดที่สามของนักดนตรีแนวโซลและฟังก์ชาวอเมริกัน Curtis Mayfield ออกจำหน่ายในปี 1972 เป็นอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ชื่อเดียวกัน เป็นที่รู้จักจากเนื้อเพลงที่คำนึงถึงสังคมและการผสมผสานระหว่างดนตรีแนวฟังก์และแนวโซล ด้วยองค์ประกอบของการร้องแบบ Gospel ทำให้ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์และเชิงวิจารณ์ และถือเป็นการประกาศศักดาของการทำหนังของคนดำ โดยคนดำ เพื่อคนดำ (Blaxploitation) และเป็นหนึ่งในอัลบั้มที่มีจิตวิญญาณที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล

เทรุโนะสุเกะ มิยาโมโตะ (Terunosuke Miyamoto , 宮本 輝之輔)

สแตนด์ : เอนิกมา (Enigma)

ชื่อสแตนด์มาจากวง “Enigma” ของเยอรมันที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1990 ซึ่งเป็นที่รู้จักจากดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ยุคใหม่และได้รับอิทธิพลจากดนตรีโลก(World Music) โดยมีบทสวดเกรกอเรียนและจังหวะของชาติพันธุ์และชนเผ่า พวกเขาเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดจากเพลงฮิตอย่าง “Sadeness (Part I)” และ “Return to Innocence” และถือเป็นหนึ่งในการแสดงที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในแนวเพลงยุคใหม่และดาวน์เทมโป(Downtempo)

มาซาโซะ คิโนโต (Masazo Kinoto , 乙 雅三)

สแตนด์ : ชีพ ทริค (Cheap Trick)

ชื่อสแตนด์นำมาจากวง “Cheap Trick” วงร็อกอเมริกันที่ก่อตั้งในร็อกฟอร์ด รัฐอิลลินอยส์ในปี 1973 เป็นที่รู้จักจากซาวด์พาวเวอร์ป๊อปที่ไพเราะจับใจ และเพลงฮิตอย่าง “I Want You to Want Me” และ “Surrender” ถือเป็นหนึ่งในวงดนตรีที่มีอิทธิพลมากที่สุดของทศวรรษ 1970 และ 1980 และได้รับการยกย่องว่ามีอิทธิพลสำคัญต่อดนตรีพังค์ พาวเวอร์ป๊อป และฮาร์ดร็อค

ที่มา : jojowiki.com

ติดตาม Playlist ได้ที่ Spotify


แสดงความคิดเห็น : Kitchen Rai

Your email address will not be published. Required fields are marked *